เมนู

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสสาธุการว่า สาธุ ภนฺเต ข้า
แต่พระผู้เป็นเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับเอาถ้อยคำจำไว้ เป็นข้อปฏิบัติต่อไปในกาลนี้
ปรินิพพุตานัง เจติยา ปาฏิหารปัญหา คำรบ 2 จบเพียงนี้

เอกัจจาเนกัจจานัง ธัมมาภิสมยปัญหา ที่ 3


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีบรมกษัตริย์จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา เย เต สมฺมาปฏิปชฺชนฺติ สัตว์ทั้งหลายใด มีน้ำใจศรัทธา
อุตสาห์ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติในธรรมแล้ว ก็จะสำเร็จธรรมาภิสมัยมรรคผลสิ้นหรือ หรือว่า
สัตว์บางพวกถึงจะปฏิบัติก็ไม่สำเร็จ
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระองค์
ผู้ประเสริฐ สัตว์บางพวกสำเร็จธรรมาภิสมัยมรรคผล บางจำพวกไม่สำเร็จ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทาธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พวกไรเล่าไม่สำเร็จ จงวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ สัตว์ที่เกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน คือกินนรและนาคเป็นต้น ถึงมาตรว่าจะปฏิบัติเป็น
สัมมาปฏิบัติให้ดีประการใด ๆ ธมฺมาภิสมโย อันว่าธรรมาภิสมัยมรรคผลนี้จะบังเกิดแก่
เดียจรัจฉานนั้นหามิได้เลย เปรตจำพวกหนึ่ง ถึงจะปฏิบัติดี ก็ไม่ได้สำเร็จธรรมาภิสมัยมรรคผล
คนเป็นมิจฉาทิฐิยังถือผิดอยู่ จะปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ ยังไม่ตัดทิฐิอันชั่วของตนเสียก็ไม่สำเร็จ
ธรรมาภิสมัยมรรคผล ประการหนึ่ง กุมารอายุต่ำกว่า 7 ขวบ ถึงจะปฏิบัติดี ก็มิอาจสำเร็จ
ธรรมาภิสมัยมรรคผล ประการหนึ่ง บุคคลกระทำปัญจานันตริยกรรม 5 ประการ คือมาตุฆาต
ปิตุฆาต อรหันตฆาต สังฆเภท และโลหิตุปบาท สิริเป็น 5 ประการ และบุคคลทุศีลไถยสังวาส
นุ่งห่มผ้าสาวพัสตร์ ปลอมอยู่กับภิกษุสามเณรนั้นก็ดี และบุคคลที่บวชเป็นภิกษุแล้ว กลับ
ไปถือฝ่ายเดียรถีย์ก็ดี และบุคคลที่ประทุษร้ายนางภิกษุณีก็ดี และภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มิได้อยู่กรรมก็ดี และบัณเฑาะก์ก็ดี และอุภโตพยัญชนะก็ดี จะปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ คือ
จำเริญสมถวิปัสสนานั้น มิอาจได้ธรรมาภิสมัยมรรคผล ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา ซึ่งบุคคล 15 จำพวก ไม่ควรจะได้ธรรมาภิสมัยมรรคผลนั้น โยมก็สิ้นสง
สัยแล้ว แต่ทว่าโยมสงสัยอยู่ที่ว่า กุมารมีอายุต่ำกว่า 7 ขวบ ดูนี่น่าที่จะได้มรรคผลธรรมวิเศษ
เหตุว่าทารกนั้นปราศจากราคะโทสะโมหะมานะทิฐิ มิได้มีกำหนัดในราคะดำฤษณา มิได้มี
กามวิตก มิได้เจือไปด้วยกิเลส เหตุไฉนจึงมิได้สำเร็จธรรมาภิสมัยมรรคผล
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร กุมารมี
อายุต่ำกว่า 8 ขวบ ประกอบด้วยราคะโทสะ โมหะ มานะทิฐิ รู้ว่าสิ่งนี้บุญแล้วกุมารนั้น
จะได้มรรคผล ประการหนึ่ง ทารกมีอายุต่ำกว่า 7 ขวบ กระทำจิตปราศจากอกุศลได้เหมือน
ผู้ใหญ่นั้น ก็จะสำเร็จมรรคและผลอาจได้ซึ่งนิพพานธาตุ นี่สิเป็นกุมารอายุต่ำ สติปัญญาอ่อนนัก
ถึงจะปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัตินั้น มิอาจะได้ซึ่งธรรมาภิสมัยมรรคผล อุปมายปิ โส อตฺโถ
ความข้อนี้จะเห็นแจ้งด้วยอุปมา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาว่าเขา
พระเมรุราช ปวโร ประเสริฐยิ่งนัก จะมีบุรุษผู้หนึ่งมายกเขาพระเมรุราชด้วยกำลังตนเป็นปรกติ
จะยกได้หรือมิได้ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า บุรุษผู้นั้นจะยกเขาพระเมรุ
ที่ไหนได้ นะผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร บุรุษที่มี
กำลังเป็นปรกติ มิอาจยกเขาพระเมรุราชได้ด้วยเหตุประการใด
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค-
เสนผู้ปรีชา เหตุว่าเขาพระเมรุใหญ่
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ประการนี้
ยถา มีอุปมาฉันใด กุมารนั้นเป็นเด็กสติปัญญาอ่อน มิอาจสำเร็จธรรมาภิสมัยมรรคผล ดุจ
บุคคลที่มีกำลังเป็นปรกติ มิอาจยกเขาพระเมรุราชอันใหญ่ขึ้นได้ฉะนั้น ถ้ามิฉะนั้นดุจบุรุษผู้หนึ่ง
นำมาซึ่งอุทกังประมาณหยาดหนึ่ง มาสลัดลงในมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ อันว่ามหาปฐพีอันใหญ่
นั้น จะชุ่มชื้นเปียกไปด้วยหยาดอุทกังหยาดเดียวนั้นหรือ บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐใน
ปฐพี
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต จะได้ที่ไหน
ูผู้เป็นเจ้า อุทกังหยาดเดียวนั้นหรือจะให้ปฐพีอันใหญ่เปียกขึ้นได้

พระนาคเสนเถระจึงอุปไมยอุปมาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร ความข้อนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด กุมารอายุต่ำกว่า 7 ปี ยังไม่รู้ความ ยังอ่อนสติปัญญา
มิอาจสำเร็จธรรมาภิสมัยมรรคผล ดุจอุทกังหยาดเดียวตกลงหลังปฐพีอันใหญ่ มิอาจให้ปฐพี
ชุ่มได้ฉันนั้น ประการหนึ่ง บพิตรพระราชสมภาร ปานดุจประทีปอันน้อย บุคคลจะเอาส่องให้
สว่างทั่วมนุษยโลกกับเทวโลก จะได้หรือประการใดเล่า
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ไม่ได้ซิ พระผู้
เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ไม่ได้ด้วย
เหตุประการใด
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลราชตรัสประภาษว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน
ผู้ปรีชา เพราะกองประทีปนั้นน้อย จึงมิอาจยังมนุษยโลกกับเทวโลกให้สว่างได้
พระนาคเสนจึงว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ความข้อนี้ ยถา
มีครุวนาฉันใด อันว่ากุมารอายุต่ำกว่า 7 ปี มีสติปัญญาอ่อนมิอาจสำเร็จแก่ธรรมาภิสมัย
มรรคผลได้ ดุจประทีปน้อยมิอาจยังมนุษยโลกกับเทวโลกให้สว่างได้ฉันนั้น อีกประการหนึ่ง
ขอถวายพระพร ธรรมดาว่าหนอนบ่อนกินไส้ข้าวสาลี กิมิชาติหนอนนี้จะกินคเชนทรคชสาร
สูง 8 ศอกคืบให้ล้มได้หรือ บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นขัตติยวงศ์ มีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ไม่ได้ พระ
ผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนมีเถรปุจฉาถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ไม่ได้
ด้วยเหตุประการใดเล่า
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสตอบว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา เหตุว่ากิมิชาติหนอนนั้นตัวเล็กน้อย จึงมิอาจกินคชสารตัวใหญ่ให้ล้ม
ลงได้
พระนาคเสนจึงว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารว่า ความประการนี้
ยถา มีครุวนาฉันใด กุมารอายุต่ำไปกว่า 7 ปี มีสติปัญญาอ่อนนัก มิอาจสำเร็จธรรมาภิสมัย
อุปไมยดุจกิมิชาติหนอนน้อยมิอาจสามารถที่ว่าจะกินคชสารสูง 8 ศอกคืบให้ล้มลงได้นั้น
ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรได้ทรงฟังดังนั้น ก็สิ้นสงสัย สาธุการว่า สาธุ ภนฺเต
พระเจ้าข้า ผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้ควรแล้ว สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับถ้อยคำไว้ในกาลบัดนี้
เอกัจจาเนกัจจานัง ธัมมาภิสมยปัญหา คำรบ 3 จบเพียงนี้

นิพพานัสส อทุกขมิสสภาวปัญหา ที่ 4


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา เอกนฺตสุขํ นิพฺพานํ อันว่าพระนิพพานนั้น เป็นเอกันตบรมสุขแท้ หรือ
หรือว่าจะเจือไปด้วยทุกข์บ้างพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมาภาร อันว่า
นิพพานนั้นเป็นเอกกันตบรมสุข จะได้จานเจือด้วยความทุกข์หามิได้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าว่านั้นโยมไม่เชื่อ โยมเห็นว่าพระนิพพานเจือไปด้วยทุกข์เป็น
แท้ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ธรรมดาพระโยคาวจรเจ้าแสวงหาพระนิพพาน
นั้น ลำบากกายทรมานกายด้วยอิริยาบถทั้ง 4 คือจะเดินก็ภาวนา จะยืนก็ภาวนา จะนั่ง
ก็ภาวนา จะนอนก็ภาวนา จะบริโภคอาหารก็ต้องปัจจเวกขณ์ทุกคำอาหาร ต้องนั่งทรมาน จะ
นอน ก็ไม่เต็มตา ต้องรักษาจิตสำรวมอินทรีย์มิได้ส่งจิตไปตามอายตนะ ละญาติละมิตรละหมู่ละ
คณะ ถือสัลเลขสันโดษอยู่ไพรสณฑ์อันสงัดแต่ผู้เดียว ดูนี่ลำบากเป็นล้นเหลือ เหตุดังนี้ โยมจึง
่ว่าพระนิพพานนั้นเจือไปด้วยทุกข์ ที่เขาไม่แสวงพระนิพพานเขาก็เห็นสุขสบาย เหมือนหนึ่ง
หญิงชายทั้งหลายนี้ เขาไม่สำรวมอินทรีย์ เขายินดีในอายตนะคือเบญจกามคุณ 5 ประการ คือ
มาถือสุภนิมิตในรูป ยินดีในเสียงในกลิ่นในรสในสัมผัสถูกต้อง ที่ว่ายินดีในเสียงนั้นเป็นต้น
หญิงรูปชายอันฟ้องรำ ก็สำคัญเป็นสุภนิมิตว่างามนั้นประการ 1 ที่ว่ายินดีในเสียงนั้น คือยินดี
ในเสียงดุริยางค์ดนตรี และเสียงขับร้องอันจะให้เกิดราคะนั้นประการ 1 ที่ว่ายินดีในกลิ่นนั้น คือ
กลิ่นเกสรดอกไม้ทั้งลูกไม้ใบไม้แก่นไม้เปลือกไม้ยางไม้อันหอม ให้เกิดราคะบำรุงราคะนั้นประการ
1 ที่ว่ายินดีในรสนั้น พหุวิวิธสุภรสาย นิมิตฺเต คือยินดีในขานทียะโภชนียะอันมีรสดีมีอย่าง
ต่าง ๆ ประการ 1 ที่ว่ายินดีในสัมผัสถูกต้องนั้น คือยินดีที่จะให้กายถูกต้องซึ่งสิ่งอันนุ่มอันอ่อน
คือฟูกหมอนอันอ่อน เป็นที่จะบริโภคนั้นประการ 1 เรียกว่า เบญจกามคุณ 5 มี รูปายตนะ